song

S! Radio
เหงาบ่มีวันหยุด
เพลง สาว ก.ศ.น
ศิลปิน เปรม ปรียาภรณ์
อัลบั้ม เหงาบ่มีวันหยุด
ดูเนื้อเพลงคัดลอกโค้ดเพลงนี้

วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2552

งานชิ้นที่ 1

งานชิ้นที่ 1
ชื่อหน่วยงาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
สถานที่ตั้ง วัดหน้าพระบรมธาตุ ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช

ชื่อเรื่อง การบริหารจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศของสถานศึกษา

แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศของสถานศึกษา
1. ด้านบริหารจัดการศึกษา ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลของนักเรียน บุคลากร การบริหารงานทั้ง 4 งาน ให้เป็นปัจจุบัน และประมวลผลให้เป็นสารสนเทศที่พร้อมใช้ประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษาในการวางแผนพัฒนาการจัดการศึกษาให้บรรลุวัตถุประสงค์
2. ด้านการวิจัย การนำนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนมาใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพการสอน เป็นการทำวิจัยที่อยู่ใกล้ตัวครูมากที่สุด เป็นการทำวิจัยปฏิบัติการ (action reserch) ที่ครูลงมือปฏิบัติเพื่อเกิดผลบวกกับนักเรียน เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาสาเหตุและแนวทางแก้ไขต่อไป นอกจากนั้นโปรแกรมต่าง ๆ ยังช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการวิจัยของครูอีกด้วย
3. การเรียนการสอนโดยใช้ CAI, E-learning, E-book เป็นการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนสนใจและตื่นเต้นกับบทเรียนนั้น ๆ และเป็นการเรียนรู้ที่เป็นไปตามความพร้อม ความสามารถของผู้เรียน
4. ด้านบริการสังคม สารสนเทศที่ใหม่ ทันสมัย เป็นสิ่งที่คอยอำนวยความสะดวกในการนำข้อมูล สถิติด้านต่าง ๆ ที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้บริการสังคมได้อย่างมั่นใจ สามารถนำมาประกอบการให้คำปรึกษาทางวิชาการแก่สังคมได้ด้วย
นวัตกรรมและสารสนเทศจะมีบทบาทมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าจะยอมรับนวัตกรรมนั้น ๆ แค่ไหน ถ้าบุคลากรในสถานศึกษายอมรับมาก ก็จะมีบทบาทมาก แต่ถ้าบุคลากรเป็นกลุ่มล้าหลัง ไม่ค่อยยอมรับนวัตกรรมใหม่ ๆ มันก็จะไม่มีบทบาทอะไรเลย

วิสัยทัศน์

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนทุกประเภท โดยเน้นการพัฒนาทักษะการคิดให้กลุ่มเป้าหมายสามารถนำตนเองเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียงได้ โดยยึดหลักคุณธรรม ความโปร่งใส เพื่อให้เกิดผลสูงสุด เป็นที่ยอมรับของประชาชนทั่วไป

ยุทธศาสตร์
เพื่อรบกับความไม่รู้ ต่อสู้กับความยากจน 5 ยุทธศาสตร์ สู่ความสำเร็จ 1.ลุยถึงที่ 2. ตอบโจทย์ในใจของผู้เรียน 3. ขยายและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 4. ผนึกกำลังภาคีเครือข่าย 5. บริการเปี่ยมคุณภาพยุทธศาสคร์ที่ 1 ลุยถึงที่
1. ครู กศน. ทำงานร่วมกับชุมชนในลักษณะร่วมอยู่ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไขปัญหาและร่วมพัฒนา 2. ครูกศน. ร่วมสำรวจข้อมูลชุมชนทุกด้านทั้งด้านกว้างและลึกครอบคลุมทุกตำบล โดยเฉพาะกลุ่มประชาชนวัยแรงงานจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบทั้งเป็นเอกสาร และบันทึกลงคอมพิวเตอร์ 3. ครู กศน. ประชุมสัมมนา เวทีชาวบ้าน ร่วมกับชุมชนเพื่อรับทราบปัญหาและหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง 4. ครู กศน.ต้องร่วมจัดทำแผนชุมชน วิจัยชุมชนและจัดทำปฏิทินปฏิบัติงานที่ชัดเจน 5. ครูกศน.สามารถนำข้อมูลชุมชนที่ได้มาวิเคราะห์นำเสนอได้อย่างถูกต้องเป็นระบบ สังคมยอมรับ
ยุทธศาสคร์ที่ 2 ตอบโจทย์ในใจของผู้เรียน 1. ครู กศน. ต้องศึกษาข้อมูลชุมชน อย่างลึกซึ้ง สามารถจัดทำหลักสูตร กศน.ที่สอดคล้องกับวิถี ชีวิต และความต้องการของชุมชน 2. ครู กศน. ต้องจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น ร่วมกับผู้รู้ ภูมิปัญญาและเครือข่ายในชุมชน 3. ครู กศน. ต้องปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน ตลอดจนการวัดผลประเมินผลให้หลากหลายรูปแบบหลายทางเลือกเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน 4. ครู กศน. ต้องนำสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยประยุกต์ใช้ในชุมชน สื่อโสตทัศนศึกษาคอมพิวเตอร์ 5. ครู กศน.จัดเทียบโอนการศึกษาให้กับประชาชนวัยแรงงานและกลุ่มเป้าหมาย
ยุทธศาสคร์ที่ 3 ขยายและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 1. ครู กศน.จะต้องจัดศูนย์การเรียนชุมชนให้เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ เป็นที่ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ทุกรูปแบบของชุมชน 2. ครู กศน.จัดให้มีแหล่งเรียนรู้ในชุมชนหลากหลายรูปแบบ เช่น ภูมิปัญญา โรงเรียน วัด กลุ่มอาชีพ แหล่งท่องเที่ยว ป่าไม้ ธรรมชาติ ฯลฯ 3. ครู กศน.จัดให้มีการทัศนศึกษาดูงาน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพิ่มเติมความรู้ให้กับชุมชนตลอดเวลา 4. ครู กศน.จัดทำทำเนียบแหล่งเรียนรู้ครอบคลุมทุกพื้นที่ 5. ครู กศน.ขยายแหล่งเรียนรู้โดยการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษานอกโรงเรียน
ยุทธศาสคร์ที่ 4 ผนึกกำลังภาคีเครือข่าย 1. ครู กศน. ต้องสร้างความสัมพันธ์กับเครือข่ายพันธมิตรทุกองค์กร เช่น อบต. ผู้นำชุมชน ผู้นำองค์กร ครู ภูมิปัญญา ฯ 2. ครู กศน. ต้องมีทำเนียบของเครือข่ายเป็นข้อมูลอย่างละเอียด 3. ในการจัดกิจกรรม กศน. ทุกรูปแบบครู กศน. ต้องประสานเครือข่ายร่วมกิจกรรม 4. ครู กศน.จัดทำบันทึกข้อตกลงการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่าง กศน.กับเครือข่าย (MOU) เช่น กับ อบต. โรงเรียน เป็นต้น 5. ส่งเสริมสนับสนุนให้เครือข่ายจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียน
ยุทธศาสคร์ที่ 5 บริการเปี่ยมคุณภาพ 1. ครู กศน. จัดทำประกันคุณภาพงานการศึกษานอกโรงเรียน 2. ครู กศน. จัดทำแผนการจัดกิจกรรม กศน. ในพื้นที่สามารถตรวจสอบได้ 3. ครู กศน. จัดทำแผนนิเทศติดตามผลการปฏิบัติงานทุกกิจกรรม 4. การจัดกิจกรรม กศน. จะต้องมีการวัดผล ประเมินผลและรายงานผลทุกกิจกรรม 5. ประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรม กศน.ร่วมกับเครือข่าย
บริบทของสถานศึกษา

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2536 ในชื่อ “ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช” และได้ปฏิบัติงานเป็นหน่วยงานทางการศึกษาโดยตรง เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2537 โดยใช้ห้องสมุดประชาชนตำบลวัจนสาร (ห้องสมุดวัดหัวอิฐ) เป็นสำนักงาน
ในปี พ.ศ. 2537 กรมการศึกษานอกโรงเรียน (ในขณะนั้น) ได้จัดสรรงบประมาณเช่าที่ดินเพื่อสร้างห้องสมุดประชาชนอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช โดยเช่าที่ดินของวัดหน้าพระบรมธาตุ จำนวน 1 ไร่ และได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารห้องสมุดฯ จำนวน 629,278.00 บาท ดำเนินการก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2539
วันศุกร์ที่ 6 เดือนกันยายน พ.ศ. 2539 นายชาญชัย สุนทรมัฎฐ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช (ในขณะนั้น) ได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารห้องสมุดประชาชนอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช และได้ใช้อาคารห้องสมุดฯ ดังกล่าว เป็นสำนักงาน “ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช” ตั้งแต่นั้นมา
ต่อมา ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พุทธศักราช 2551 ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125 ตอนที่ 21 ก เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2551 และในวันที่ 25 มีนาคม 2551 กระทรวงศึกษาธิการ โดยนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ลงนามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2551 เรื่อง บัญชีรายชื่อสถานศึกษาในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจของสถานศึกษา ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125 ตอนพิเศษ 60 ง วันที่ 25 มีนาคม 2551 หน้า 1 และ หน้า 11 “ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช” จึงเปลี่ยนชื่อสถานศึกษาเป็น “ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช” (Mueang Nakhon Si Thammarat District Non-Formal and Informal Education Centre)

ปัจจุบันมี นายสมภาส จันทร์อุดม เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา
และมีบุคลากร ดังนี้
ข้าราชการครู 4 คน
ข้าราชการพลเรือน 2 คน
พนักงานราชการ 7 คน
ลูกจ้างประจำ 3 คน
ครูศูนย์การเรียนชุมชน 11 คน
บรรณารักษ์อัตราจ้าง 2 คน
ครูการศึกษาพิเศษ 2 คน



โครงสร้างหน่วยงาน


สภาพปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการพัฒนา
ปัญหาการพัฒนาด้าน ICT
1. เครื่อง Computer มีประสิทธิภาพต่ำ
2. เครื่องเสียบ่อย / ซ่อมบำรุง ขาดเทคนิคซ่อมบำรุง
3. เครื่องComputer มีน้อย ไม่เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน
4. เครื่องComputer ล้าหลังไม่ทันสมัย
5. โปรแกรมแกรมที่ใช้ไม่มีสิทธิ (ควรซื้อลิขสิทธิ์)
6. ขาดแคลนโปรแกรมใช้งาน.เช่น การเงิน,พัสดุ
7. โปรแกรมที่มีอยู่ไม่มีประสิทธิภาพ
8. บุคลากรขาดความรู้ด้าน ICT
9. บทบาทหน้าที่ ไม่ชัดเจน ควรแยกงานให้ชัดเจน(ICT)
10. บุคลากร ICT ทำหลายหน้าที่/มีภาระงานมาก
11. ขาดแคลนบุคลากรด้าน ICT
12. ข้อมูลสาระสนเทศ ไม่มีระบบจัดเก็บฐานข้อมูลที่ดี เข้าถึงข้อมูลได้ยาก ไม่มีการรวบรวมจัดเก็บอย่างเป็นระบบ

ผู้ให้ข้อมูล นางนิตยาพร จันทร์อุดม
หน่วยงาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
ณ วันที่ 28 ธันวาคม 2552

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

slideshow