song

S! Radio
เหงาบ่มีวันหยุด
เพลง สาว ก.ศ.น
ศิลปิน เปรม ปรียาภรณ์
อัลบั้ม เหงาบ่มีวันหยุด
ดูเนื้อเพลงคัดลอกโค้ดเพลงนี้

วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 14




จุดเด่นของ Webblog

1. เจ้าของบล็อกมีอิสระที่จะนำเสนอ อะไรก็ได้ ที่ไม่ไปก้าวล่วงบุคคลอื่น ที่ไม่ผิดกติกาของผู้ให้บริการบล็อกที่เราทำอยู่ (oknation) ที่ไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม ประเพณีที่ดีงาม ถ้าเราใช้จริยธรรมในใจกำกับ กฎต่างๆก็อยู่ที่เราจะกำหนดเองค่ะ
2. เปิดโอกาสให้ บล็อกเกอร์ได้รับฟัง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้โดยอิสระ จะรับไว้ จะไม่อ่าน จะตอบ จะลบ ก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของเจ้าของบล็อก แต่ก็ไม่ลดสิทธิ์ที่ผู้ให้บริการบล็อกจะเข้ามาช่วยดูแลในกรณี ฉุกเฉิน หรือมีปัญหาที่ต้องดำเนินการ
3. ในด้านเทคนิค เจ้าของบล็อกสามารถปรับแต่งบล็อกให้เป็นรูปแบบที่ตนต้องการได้โดยไม่ต้องมีความรู้ในเรื่องภาษาคำสั่งของโปรแกรมมากมาย อาศัยบทเรียนง่ายๆ การสังเกตุ การทดลอง สามัญสำนึกช่วยก็ทำเองได้ หรืออาจขอความช่วยเหลือเล็กๆน้อยๆจากผู้ที่มีประสบการณ์ก็สามารถเข้าไปแก้ไข Source Code เองได้
4. สามารถสร้างเครือข่าย ชุมชนสัมพันธ์ระหว่างบล็อกเกอร์ที่มีความคิด ความสนใจ ความรู้สึก ร่วมกันได้
5. ช่วยเป็นกระบอกเสียง ทำประชาสัมพันธ์ในเรื่องต่างๆได้ รวมทั้งผลงานให้เป็นที่รู้จัก หากบุคคล นักธุรกิจ คนดัง นักร้อง ค่ายเพลง นักแสดง หมอดู นักการเมือง องค์กร ห้างร้านสนใจมาทำบล็อกก็จะได้ประโยชน์ในเรื่องการตลาดอย่างมาก หากใช้อย่างมีเป้าหมาย มีการวางแผน ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และบริหารบล็อกอย่างมืออาชีพ หรือด้วยมืออาชีพ
6. เปิดโอกาสให้เจ้าของบล็อกทำธุรกิจได้ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่หารายได้จากการจำหน่ายสินค้า บริการ หรือ หารายได้จากการเป็นสมาชิก การลงโฆษณา ก็ตาม
7. ได้พื้นที่ใช้งานฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย แถมมีคนคอยบริการ ช่วยเหลือเมือ่มีปัญหาทางด้านเทคนิค หรือปัญหาทั่วๆไปที่เกี่ยวกับ บล็อก
8. ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือ สิ่งเก่าๆ ที่ยังไม่รู้ ให้รู้มากขึ้น จากการนำมาแลกเปลี่ยนกันและกัน
9. ได้มิตรภาพใหม่ๆ จากความสัมพันธ์กับคนในชุมชนบล็อก กับเพื่อนของบล็อกเกอร์ และเพื่อนของเพื่อนของ.....
10. ใช้เป็นช่องทางสื่อสารกับครอบครัว เพื่อนฝูง เมื่อยามห่างไกลกัน
11. เปิดโอกาสให้เจ้าของบล็อกได้แสดงออกถึงความสามารถ ความคิดเห็นได้อย่างไม่เคยมีมาก่อน บางท่านอาจจะกลายเป็นคนดังได้ เช่น คุณ kittinun ป้ามด และอีกหลายๆท่าน
12. เปิดโอกาสให้ประชาชนคนธรรมดา กลายเป็น ผู้สื่อข่าวได้ เพียงแค่นำเรื่องใกล้ตัวที่น่าสนใจ น่าตระหนัก มาเสนอในช่วงเวลาที่เหมาะสม
13. เปิดโอกาสให้บล็อกเกอร์ได้แสดงตัวตนที่เป็นตัวเอง หรืออาจจะเป็นด้านที่ไม่มีใครรู้มาก่อนได้ แม้จะอยู่ชื่อแฝง หรือจะอยู่ในชื่อจริงก็ตาม
14. เป็นไดอารี่บันทึกประจำวัน เป็นที่เก็บข้อมูลประจำครอบครัว ประจำสถาบัน ใช้เป็นจดหมายเหตุได้
15. เป็นที่พบปะสังสรรค์เพือนเก่า เครือญาติ ศิษย์เก่าสถาบันต่างๆได้
16. เก็บไว้เป็นที่ระลึกถึงตัวเอง ถึงคนอันเป็นที่รัก ที่ชัง ครอบครัว เพื่อน คนอื่นรวมไปถึงสัตว์เลี้ยง พืช งานอดิเรก ของรัก ของหวง รวมถึงเหตุการณ์ที่น่าจดจำรำลึก ในยามที่เลิกหรือไม่ได้ทำบล็อกแล้ว
17. เป็นแหล่งข้อมูลความรู้ ให้บุคคลอื่นเข้ามาค้นคว้า ศึกษาได้ในปัจจุบันและอนาคต
18. เปิดโอกาสให้ผู้ที่อาจจะต้องอยู่ในมุมมืด เช่นผู้มีอาชีพพิเศษ นักโทษ ผู้ที่ไม่ต้องการเผยตัว ได้ใช้เป็นเวทีแสดงออกและแลกเปลี่ยน เรื่องราว ความคิดเห็น แนวทาง โดยไม่จำเป็นต้องเผยชื่อ
19. เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน มาอยู่ร่วมในชุมชนเดียวกัน เพิ่มโอกาสให้มีการปรับแนวทางความคิด ความเข้าใจซึ่งกันและกัน และอาจจะนำไปสู่ความรู้รักสามัคคี และการสมานฉันท์ ในการนำส่วนที่ดีดี มาใช้ร่วมกันก็เป็นได้
20. ใช้เป็นเครื่องมือในการทำงาน เช่นกรณีของการนำเสนอข่าวอย่างฉับไว เจาะลึก มีพร้อมทั้งภาพและเสียง ผ่านสื่อต่างๆหลายรูปแบบ ซึ่งในเครือ The Nation ใช้อยู่ในปัจจบุนนี้
21. ใช้เป็นศูนย์รวมการให้ความรู้ การศึกษาวิชาการ วิชาชีพ ศิลปะ การติว การให้การบ้าน การส่งการบ้าน ของครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา บุคคลทั่วไป
22. ใช้สร้าง รวมกลุ่ม ชุมชนออนไลน์ย่อยๆ เพื่อการระดมความคิด พบปะพูดคุย ปรึกษาธุระ แสดงผลงานร่วมกัน เช่น ร้อยแก้ว ร้อยกรอง วรรณกรรม การ์ตูน งานศิลปะอื่นๆ ตามแตความสนใจของกลุ่มย่อยนั้น ในบางกรณี ยังสามารถกำหนด password ในการเข้าบล็อกของกลุ่มเพื่อรักษาความลับไม่ให้รั่วไหล23. ใช้เป็นสถานีวิทยุออนไลน์ ให้บริการข่าว ฟังเพลง ตลอด 24 ชั่วโมง


ข้อเสียของ Webblog

1. บล็อกเกอร์มีอิสระในการนำเสนอ โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบจากใครก่อน อาจโพสเรื่องที่ไม่เหมาะสม เรื่องที่หมิ่นเหม่ หรือ เข้าข่ายผิดกฎหมาย ผิดประเพณีและศีลธรรมอันดีได้ จึงต้องมีกติกาให้ตัวเอง หรือใช้จริยธรรมของแต่บุคคล ความมีเหตุมีผล ความระมัดระวัง รอบคอบ ของบล็อกเกอร์มากำกับไว้เอง
2. ผู้ให้บริการบล็อก ไม่สามารถกลั่นกรองเนื้อหาได้ 100% เว้นแต่จะสร้างระบบกรองคำหยาบ คำต้องห้ามไว้เพื่อให้มีการตรวจทานก่อนเผยแพร่ อาจมีความเสี่ยงเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายไปด้วยหากมีบล็อกเกอร์โพสข้อความ รูปภาพ ไม่เหมาะสมแล้วมีการฟ้องร้องขึ้นมา
3. ในทางปฏิบัติ ผู้ให้บริการบล็อก ไม่สามารถบังคับหรือกำหนดแนวทางให้บล็อกเกอร์นำเสนอได้ แม้จะโปรโมทให้ oknation เป็นสังคมของ CJ Citizen Jouranalist แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันว่า จะไม่สามารถอยู่ได้หากไม่มีบล็อกเกอร์ที่ทำบล็อกในแนวอื่น ซึ่งเปรียบเสมือนมีคอมลัมน์หลากหลายในหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับ จึงน่าจะถือว่า เป็นเรื่องของการสร้างชุมชนที่ดีร่วมกัน
4. เนื้อหาที่อยู่ในบล็อก หากไม่ใช่ผลงานวิจัย หรือ วิทยานิพนธ์ ที่ทำตามหลักวิชาการ หรือ ตัวบทกฎหมาย ก็อาจมีความน่าเชื่อถือน้อยถึงน้อยมาก
5.ความน่าเชื่อถือของข้อมูลขึ้นกับความน่าเชื่อถือของบล็อกเกอร์ มากกว่าตัวข้อมูลเอง หากเกิดความผิดพลาดใดๆ ผู้ที่นำข้อมูลไปใช้อ้างอิง อาจประสบปัญหาได้
6. เปิดโอกาสให้พวกป่วนเข้ามาเปิดบล็อก ก่อกวน
7. เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน มาอยู่ร่วมในชุมชนเดียวกัน เพิ่มโอกาสให้มีการแสดงออกถึงการขัดแย้งอย่างไม่มีเหตุผล สร้างความไม่สามัคคี ทะเลาะกันได้ หากไม่ใช้การวางจิตเป็นกลาง ไม่นำเหตุและผลมาโต้แย้งกันโดยสันติ
8. เปิดโอกาสให้มีการเผยแพร่ กระจายข่าวปั้นแต่ง ข่าวลือ ข่าวลวง ข่าวยั่วยุ 9. การที่มีบล็อก และเรื่องใหม่ๆมากมายในแต่ละวัน การนำเสนอเรื่องเดิมซ้ำๆกันอาจเกิดขึ้นได้ เช่นการนำ ข้อความจากฟอร์เวิร์ดเมล์ มาโพส เป็นต้น

ข้อเสนอแนะในการใช้ Webblog

1 .ควรใช้blogspot.com ในการนำเสนอข้อมูลทั่วไปเช่น ประวัติโรงเรียน ทำเนียบบุคลากร ที่ไม่ต้องอัพเดท ข้อมูลให้เป็นปัจจุบันมากนักเปรียบเทียบ blogspot.com กับ blog gotoknow ทั้งสอง blog มีลักษณะคล้ายกัน คือ1.เป็นเครื่องมือสร้างความรู้2.เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ความรู้
2. ใช้เป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนความรู้
3. การเขียน blog สำหรับบันทึกเล่าเรื่องราว ข่าวสาร ความรู้ และประสบการณ์ต่างๆ ในสิ่งที่ผู้เล่าสนใจ เป็นการถ่ายทอดสิ่งที่ถูกบันทึกไว้ในสมองลงสู่ตัวหนังสือ การเขียนต้อง มีอิสระทางความคิดในรูปแบบที่เป็นตัวของตัวเอง จะช่วยอำนวยให้การดึงเอาความรู้ฝังลึกถูกแสดงออกมาได้โดยไม่ยากนัก
4. การเขียน blog อยู่เป็นประจำก็สามารถนำมาสู่การสร้างขุมความรู้ (Knowledge Assets) อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ การเก็บรวบรวมและการแก้ไขหรือเพิ่มเติมความรู้ก็ทำได้โดย สะดวกรวดเร็ว ส่วนระบบ blog ที่เป็นแบบชุมชน เช่น GotoKnow.org จะยิ่งช่วยทำให้ขุมความรู้ถูกร่วมมือกันสร้างขึ้นได้อย่างรวดเร็ว กลายเป็นขุมความรู้ที่เชื่อมโยง ซึ่งน่าจะเป็นแหล่ง KM blog ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
5. การเขียน blog จะอนุญาตให้ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็นต่อความรู้ที่ผู้เขียนถ่ายทอดลงไปใน blog และผู้เขียนได้เขียนโต้ตอบต่อความคิดเห็นนั้นๆ ไปๆ มาๆ ในลักษณะของการสนทนาเพื่อหาความแตกฉานในตัวความรู้ ถือได้ว่าเป็นการร่วมกันสกัดความรู้ฝังลึกได้อย่างดี


ความแตกต่างระหว่าง Blogspot และ GotoKnow

Blogspot
1. เข้าไปแก้ไขและเพิ่มบทความได้
2. จะไม่ปิดกั้นผู้อื่นเข้าชมและสามารถวิจารณ์ผลงานได้
3. การเปิดโชว์ข้อความจะโชว์หมด
4. การเข้า Web จะง่ายกว่า
5. ใส่รูปภาพและลิงค์ถึงกันได้
6. ชื่อ Web จำง่ายและสั้น
7. ประวัติ Blog ไม่เห็นชัดเจน
8. พื้นหลังหรือ background สามารถเลือกได้หลายรูปแบบ

Gotoknow
1. เข้าไปแก้ไขและเพิ่มบทความได้ง่ายกว่า
2. จะปิดกั้นผู้อื่นเข้าชมได้ และสามารถวิจารณ์งานได้
3. การโชว์ข้อความโชว์ไม่หมดต้องเปิดดูต่อ
4. การเข้า Web จะยากกว่า
5. ใส่รูปภาพและลิงค์ถึงกันได้
6. ชื่อ Web จำยากและยาว
7. ประวัติ Blog ชัดเจน
8. ไม่มีพื้นหลังหรือ Background ให้เลือก





















วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 13


ในระหว่างวันที่ 19 - 29 มกราคม 2553 สำนักงานส่งเสริม กศน. จังหวัดนครศรีธรรมราช ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ร่วมกับกองทัพภาค 4 จัดอบรมครูการศึกษานอกโรงเรียนในหน่วยทหาร มีผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 60 คน การอบรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ครูประจำกลุ่มในหน่วยทหาร ได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งกำหนดใช้หลักสูตรดังกล่าวในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553

ในการจัดอบรมฯ ดิฉันได้เข้าร่วมกิจกรรม และร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้ด้วย ตลอดการอบรม และในวันที่ 23 มกราคม 2553 ผู้เข้ารับการอบรมฯ ได้เข้าไปทัศนศึกษาดูงานการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรดังกล่าว ณ ศูนย์ กศน. อำเภอเมืองนครศรีธรรมราชอีกด้วย
สำหรับจากบทสรุปดังกล่าว ดิฉันคิดว่าคงจะได้เกรด A เนื่องจากในช่วงดังกล่าวต้องมีความพยายาม มีความขยัน และอุทิศตนให้กับการให้ความรู้แก่ผู้เข้าอบรม เพื่อจะได้นำความรู้ไปปฏิบัติได้ และจากการสอบถามผู้เข้ารับการอบรม ทุกคนจะมีความพอใจในการให้ความรู้ ระดับดีมาก

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โปรแกรม SPSS

การใช้โปรแกรม SPSS

สำหรับโปรแกรม SPSS ประกอบไปด้วยหน้าต่างหลัก 5 หน้าต่าง คือ 1. Data window 2. Syntax window 3. Output window 4. Draft output window 5. Script window
1. Data window/Data Editor
เป็นหน้าต่างสำหรับเก็บแฟ้มข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม SPSS ซึ่งผู้ใช้อาจจะทำการป้อนข้อมูลลงในหน้าต่าง Data เลย หรือนำแฟ้มข้อมูลที่สร้างจากโปรแกรมอื่น ๆ มาใช้ในโปรแกรม SPSS โดยจะต้องใช้หน้าต่าง Data เป็นตัวเรียก ในหน้าต่าง Data ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลได้ หน้าต่างนี้จะเปิดได้ครั้งละ 1 หน้าต่างเท่านั้น โดยปกติเมื่อเริ่มใช้โปรแกรม SPSS จะปรากฏหน้าต่าง Data ทันที ส่วนหน้าต่างอื่นๆ จะปรากฏให้เห็นภายหลัง นอกจากนี้หน้าต่าง Data ประกอบไปด้วย 2 แถบชีต คือ แถบชีต Data View ใช้สำหรับการป้อนข้อมูล และแถบชีต Variable View ใช้สำหรับกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับตัวแปร และค่าของข้อมูลแต่ละตัวแปรโดยจะอยู่ในลักษณะของกระดาษทำการ (Spread sheet)

แถบรายการหลัก (Menu Bar) ของโปรแกรม SPSS

รายละเอียดของแถบรายการหลัก (Menu Bar) ในหน้าต่าง Data มีดังนี้

1. การจัดการแฟ้มข้อมูล (File) ใช้สำหรับเปิด/ปิด หน้าต่างประเภทต่างๆ ใช้เรียกข้อมูลจากโปรแกรมอื่นๆ ใช้บันทึกข้อมูลในแต่ละหน้าต่างลงแฟ้ม พิมพ์ข้อมูลในแต่ละหน้าต่างออกทางเครื่องพิมพ์และเลิกการใช้โปรแกรม SPSS
2. การแก้ไขข้อมูล (Edit) ใช้ย้าย คัดลอก หรือค้นหา ข้อมูลภายในหน้าต่างต่างๆ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดต่างๆ ของหน้าต่าง
3. การแสดงข้อมูล (View) ใช้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการแสดงผลในหน้าต่าง เช่น ตัวอักษร (Font) การแสดงข้อความแทนค่า (Value label)
4. การจัดการข้อมูล (Data) ใช้ดำเนินงานกับข้อมูลในหน้าต่าง Data Editor เช่น สร้าง แก้ไข การรวมแฟ้มข้อมูล การเลือกข้อมูล เรียงลำดับข้อมูล
5. การปรับเปลี่ยนหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูล (Transform) ใช้ในการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับข้อมูล เช่น สร้างตัวแปรใหม่เพิ่มเติม หรือจัดค่าตัวแปรใหม่
6. การวิเคราะห์สถิติ (Analyze) ใช้เรียกคำสั่งสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
7. กราฟ (Graphs) ใช้สร้างกราฟหรือ ชาร์ตในรูปแบบต่างๆ
8. การอำนวยความสะดวก (Utilities) ใช้ดูรายละเอียดของตัวแปร จัดกลุ่มตัวแปร การนำชุดคำสั่งที่เขียนในหน้าต่าง Script มาใช้งานการเพิ่มเมนู
9. หน้าต่าง (Window) ใช้จัดเรียงหน้าต่างในรูปแบบต่างๆ การเลือกแสดงสถานะต่างๆ ของหน้าต่าง การเลือกใช้งานหน้าต่างที่เปิดอยู่
10. การช่วยเหลือ (Help) ใช้ขอคำอธิบายการใช้โปรแกรม SPSS

แถบเครื่องมือ (Tool Bar) ของโปรแกรม SPSS
รายละเอียดของแถบเครื่องมือ (Tool Bar) โปรแกรม SPSS มีต่อไปดังนี้



2. Output
เป็นหน้าต่างสำหรับแสดงและเก็บบันทึกผลลัพธ์หรือรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จากการใช้งานโปรแกรม SPSS โดยหน้าต่าง Output จะแสดงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติทุกครั้งที่มีการใช้งานในเมนูของโปรแกรม SPSS ผู้ใช้สามารถเปิดหน้าต่าง Output ได้มากกว่า 1 หน้าต่าง ซึ่งจะต้องมีการกำหนดหน้าต่างหนึ่งให้ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการประมวลผล ครั้งล่าสุด แต่ถ้ามีหน้าต่างเดียวผลลัพธ์จะถูกแสดงต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีการสั่งให้แสดงผลลัพธ์ในหน้าต่าง Output อื่นๆ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในหน้าต่าง Output นี้ ผู้ใช้สามารถเลือกที่จะให้แสดงผลลัพธ์ในรูปแบบของ Text ที่เป็นมาตรฐานซึ่งจะเรียกว่า แบบ Draff และในรูปแบบของ Graphics

รายละเอียดของแถบรายการหลัก (Menu Bar) ในหน้าต่าง Output มีต่อไปดังนี้
1. การจัดการแฟ้มข้อมูล (File) ใช้สำหรับเปิด/ปิด สร้าง บันทึกแฟ้ม Output
2. การแก้ไขข้อมูล (Edit) ใช้แก้ไข คัดลอก ค้นหาข้อมูลผลลัพธ์ในแฟ้ม Output
3. การแสดงข้อมูล (View) ใช้ Customize toolbar, Status bar แสดง/ซ่อน item
4. การเพิ่มข้อมูล (Insert) ใช้เพิ่ม/แทรก Page break, Tittle, Chart, Graph ฯ
5. รูปแบบ (Format) ใช้เปลี่ยน Alignment ของ Output ที่เลือก
6. การวิเคราะห์สถิติ (Analyze) ใช้เรียกคำสั่งสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
7. กราฟ (Graphs) ใช้สร้างกราฟหรือชาร์ตในรูปแบบต่างๆ
8. การอำนวยความสะดวก (Utilities) ใช้ดูรายละเอียดของตัวแปร จัดกลุ่มตัวแปร การนำชุดคำสั่งที่เขียนในหน้าต่าง Script มาใช้งานการเพิ่มเมนู
9. หน้าต่าง (Window) ใช้จัดเรียงหน้าต่างในรูปแบบต่างๆ การเลือกแสดงสถานะต่างๆ ของหน้าต่าง การเลือกใช้งานหน้าต่างที่เปิดอยู่
10. การช่วยเหลือ (Help) ใช้ขอคำอธิบายการใช้โปรแกรม SPSS
เริ่มต้นการใช้โปรแกรม SPSS 10.0 for windows
ขั้นตอนการสร้างแฟ้มข้อมูล
1. เข้าสู่โปรแกรม SPSS 10.0
2. เมื่อเปิดโปรแกรม SPSS โปรแกรมจะเปิดหน้าต่าง Data ซึ่งเป็นตารางปฏิบัติการให้ ดังนี้
สำหรับหน้าต่าง SPSS for Windows ที่ปรากฏขึ้นมานั้น ในกรณีที่เป็นการใช้งานครั้งแรกให้เลือก Cancel และครั้งต่อไปให้พิจารณาชื่อแฟ้มข้อมูลที่จัดเก็บในช่อง
3. เริ่มกำหนดชื่อของตัวแปรแต่ละตัวลงในหัวตารางปฏิบัติการ ตามลำดับวิธีการดังนี้
3.1 ให้ Click ที่ เพื่อเปิดแถบชีต Variable View
3.2 เมื่อเปิดหน้าต่าง Variable View แล้วให้กำหนดรายละเอียดของตัวแปรที่ต้องการในช่องต่างๆ ดังนี้
Name คือ ชื่อของตัวแปรหรือหัวข้อในแบบสอบถามแต่ละข้อ เช่น "เพศ" แทนในช่อง sex
Type คือ การกำหนดชนิดของตัวแปร
Wide คือ เป็นการกำหนดความกว้างหรือจำนวนหลักของตัวแปร
Decimal คือ การกำหนดจำนวนหลักหลังทศนิยมของค่าตัวแปร
Label คือ การอธิบายรายการหรือความหมายของตัวแปร
Value คือ การกำหนดค่าของตัวแปร
Missing คือ การกำหนดค่าความผิดพลาด หรือการสูญหายของข้อมูล
Column คือ เป็นการกำหนดความกว้างของ Column ที่ใช้เก็บค่าตัวแปร
Alignment คือ การกำหนดตำแหน่งการวางข้อมูล
Measure คือ การกำหนดสเกลของข้อมูล
3.3 เมื่อกำหนดรายละเอียดเรียบร้อยแล้ว จะได้ดังนี้
3.4 จากนั้นให้ Click กลับมายังแถบชีต Data View ชื่อตัวแปรที่กำหนดไว้จะปรากฏที่หัวตารางปฏิบัติการ ดังตัวอย่าง
ขั้นตอนการป้อน และบันทึกข้อมูล
1. เมื่อกำหนดชื่อของตัวแปรครบทุกตัวแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การป้อนข้อมูล ซึ่งการป้อนข้อมูลจะต้องป้อนตามที่กำหนดไว้ในคู่มือรหัส (Code book) เช่น ชื่อตัวแปร "sex" (แทนเพศ) กำหนดการป้อนข้อมูลในลักษณะของรหัส คือ กำหนดให้ 1) แทน ชาย 2) แทน หญิง 9) แทน ไม่ตอบ ดังนั้นในคอลัมน์ของรหัสตัวแปร "sex" จะมีตัวเลขปรากฏได้เพียง 3 ตัวเท่านั้นคือ 1 / 2 / 9 ดังตัวอย่าง หากมีตัวเลขอื่นปรากฏขึ้นมาแสดงว่ามีการป้อนข้อมูลผิดพลาด
2. เมื่อป้อนข้อมูลครบทุกคอลัมน์และทุกชุดแล้วให้ทำการบันทึกข้อมูล โดยเลือก File --> Save As ในกรณีที่เป็นการจัดเก็บแฟ้มข้อมูลครั้งแรก แต่หากเป็นการจัดเก็บข้อมูลในแฟ้มเดิมให้เลือก File -->Save หรือไปที่ Toolbar แล้วเลือก ก็ได้เช่นกัน จากนั้น ให้ตั้งชื่อไฟล์ ที่สื่อกับข้อมูลชุดนั้น ตัวอย่างเช่น ข้อมูลที่บันทึกเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อบริษัทธนาวิทย์ทัวร์ จำกัด กำหนดชื่อไฟล์เป็น "ธนาวิทย์" จากนั้นให้ Click ที่ save เป็นอันสิ้นการบันทึกข้อมูล

ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล

เมื่อป้อนข้อมูลครบทุกตัวแปรแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ ประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ทราบผลลัพธ์ของข้อมูลเหล่านั้น ซึ่งการประมวลข้อมูลจะต้องเกี่ยวข้องกับการใช้สถิติ ดังนี้ การใช้สถิติสำหรับการพรรณนาข้อมูล และการใช้สถิติสำหรับการทดสอบสมมติฐาน

1. การใช้สถิติสำหรับการพรรณนาข้อมูล

สำหรับการใช้สถิติสำหรับการพรรณนาข้อมูล ส่วนใหญ่จะกำหนดให้พรรณนาในรูปของตาราง ซึ่งแบ่งเป็น 1) ตารางทางเดียว 2) ตารางหลายทาง และการใช้สถิติพรรณนาแต่ละอย่างนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับมาตรวัดของตัวแปร กล่าวคือ Nominal หรือ Ordinal Scale ส่วนใหญ่จะใช้ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ ส่วน Interval หรือ Ratio Scale จะใช้ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพิ่มเติมอีก
1.1 การพรรณนาในรูปตารางทางเดียวโดยใช้คำสั่ง Frequencies

ขั้นตอนปฏิบัติการ

1. ไปที่ Menu bar เลือก Analyze -->Descriptive Statistics --Frequencies…
เมื่อเลือกตามลำดับแล้วจะเห็นได้หน้าต่าง Frequencies

2. เมื่อปรากฏหน้าต่าง Frequencies ให้เลือกตัวแปรที่ต้องการจากกล่องทางซ้าย โดยการ Click ที่ปุ่ม และเมื่อ Click เรียบร้อยแล้วตัวแปรที่เลือกก็ปรากฏยังกล่องทางขวา (Variable (s):) จากนั้นให้เลือก Statistics…….
3. สำหรับหน้าต่าง Frequencies: Statistics ให้เลือก Std. Deviation และ Menu จากนั้นให้ Click ที่ Continue
4. เมื่อกลับมายังหน้าต่าง Frequencies ให้ Click ที่ OK ก็จะได้ Output หรือผลลัพธ์ ดังนี้

5. สำหรับการบันทึก Output หรือ ผลลัพธ์ของข้อมูลนั้นก็ทำเช่นเดียวกับการบันทึกข้อมูล
1.2 การพรรณนาในรูปตารางหลายทางโดยใช้คำสั่ง Crosstab
ขั้นตอนการปฏิบัติการ
1. ไปที่ Menu bar เลือก Analyze --> Descriptive Statistics -- > Crosstab…
เมื่อเลือกตามลำดับแล้วจะได้หน้าต่าง Crosstab…
2. เมื่อปรากฏหน้าต่าง Crosstab ให้เลือกตัวแปรที่ต้องการจากกล่องทางซ้าย โดยการ Click ที่ปุ่ม และเมื่อ Click เรียบร้อยแล้วตัวแปรที่เลือกก็ปรากฏยังกล่องทางขวาตามกล่องที่ต้องการ ซึ่งมี 3 กล่อง คือ Row(s):, Column(s):, Layer 1 of 1:) จากนั้นให้เลือก Cells…..
3. สำหรับหน้าต่าง Crosstab: Cell Display ในกรอบ Percentages ให้เลือก แสดงร้อยละ ตามต้องการในแนวต่างๆ คือ Row Column หรือ Total จากนั้นให้ Click ที่ Column
4. เมื่อกลับมายังหน้าต่าง Crosstab ให้ Click ที่ OK ก็จะได้ Output หรือ ผลลัพธ์ ดังนี้
2. การใช้สถิติสำหรับการทดสอบสมมติฐาน
2.1 การทดสอบค่าเฉลี่ยหรือการเปรียบเทียบ
2.1.1 การทดสอบค่าเฉลี่ยสำหรับ 1 กลุ่มตัวอย่าง
เป็นการศึกษาโดยการตรวจสอบว่าคุณลักษณะใดคุณลักษณะหนึ่งของข้อมูลมี จำนวนเป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่ ตัวอย่างเช่น ผู้วิจัยต้องการทดสอบว่าอายุของนักท่องเที่ยวไม่น่าจะต่ำกว่า 35 ปี ที่ระดับนัยสำคัญ .10 สามารถทดสอบได้ดังนี้
ขั้นตอนการทดสอบ
1. ไปที่ Menu bar เลือก Analyze --> Compare Means --> One-Sample T Test…เมื่อเลือกตามลำดับแล้วจะได้หน้าต่าง One-Sample T Test
2. เลือกตัวแปร "อายุ[age]" จากกล่องทางซ้าย ไปยังกล่องทางขวา (Test Varible(s):) จากนั้นกำหนดค่าในกล่อง Test Value: เป็น 35 แล้วเลือก Option…
3. ในหน้าต่าง One-Sample T Test: Options ในกล่อง Confidence Interval ให้ใส่ค่า 90% จากนั้น Click ที่ Continue
4. เมื่อกลับมายังหน้าต่าง One-Sample T Test ให้ Click ที่ OK ก็จะได้ Output หรือ ผลลัพธ์ ดังนี้
2.1.2 การทดสอบค่าเฉลี่ยสำหรับ 2 กลุ่มตัวอย่างที่อิสระต่อกัน
เป็นการศึกษาเปรียบเทียบและตรวจสอบว่าคุณลักษณะใดคุณลักษณะหนึ่งของข้อมูลระหว่างสองกลุ่ม มีความแตกต่างกันหรือไม่ และถ้าแตกต่างกันนั้นแตกต่างกันอย่างไร
ตัวอย่างเช่น ผู้วิจัยตั้งสมมติฐานว่า "เพศของนักท่องเที่ยวต่างกันจะมีความพึงพอใจที่มีต่อบริษัท ธนาวิทย์ทัวร์ จำกัด แตกต่างกัน"
การทดสอบสมมติฐานในครั้งนี้ ตัวแปรต้น/X คือ เพศ และตัวแปรตาม/Y คือ ความพึงพอใจที่มีต่อบริษัท ธนาวิทย์ทัวร์ จำกัด ซึ่งตัวแปรตาม/Y นั้นมีลักษณะเป็นชุดคำถามกล่าวคือ ตัวแปรความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวประกอบด้วยด้านต่างๆ ดังนี้ [hlth1]ด้านการจอง คำแนะนำ [hlth2]ด้านอาหาร [hlth3]ด้านบริการของไกด์ [hlth4]ด้านความสามารถของไกด์ [d5]ด้านพาหนะ ฉะนั้นก่อนการทดสอบจะต้องทำการประมวลหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูล โดยจะต้องแปลงข้อมูลทั้ง 5 ด้านให้เป็นด้านเดียวหรือเป็นตัวแปรตัวใหม่ซึ่งก็คือ ความพึงพอใจ โดยกำหนดในโปรแกรม SPSS ว่า "m_hlth"
ขั้นตอนปฏิบัติการ
1. ไปที่ Menu bar เลือก Analyze --> Descriptive Statistics -- > Crosstab…
เมื่อเลือกตามลำดับแล้วจะได้หน้าต่าง Compute Variable
2. ในกล่อง Target Variable: ตั้งชื่อตัวแปรใหม่คือ "m_hlth" จากนั้นเลือกคำสั่ง MEAN(??) จากกล่อง Functions: หรือพิมพ์ว่า "mean()" ก็ได้แล้วให้ใส่ตัวแปรซึ่งเป็นองค์ประกอบของความพึงพอใจเข้าไปคือ hlth1, hlth2, hlth3, hlth4 และ hlth5 ตัวแปรแต่ละตัว โดยเลือกจากกล่องทางซ้าย หรือพิมพ์เข้าไปก็ได้ และจะต้องคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค "," เสมอ เมื่อทำครบทุกขั้นตอนแล้ว Click ที่ OK ก็จะได้ตัวแปรตัวใหม่คือ "m_hlth" ดังนี้
ขั้นตอนการทดสอบ
1. ไปที่ Menu bar เลือก Analyze --> Compare Means --> Independent-Sample T Testเมื่อเลือกตามลำดับแล้วจะได้หน้าต่าง Independent-Sample T Test
2. เลือกตัวแปรต้น "sex" จากกล่องทางซ้าย ไปยังกล่องทางขวา (Grouping Variable:) แล้วเลือก Define Group…
3. สำหรับหน้าต่าง Define Groups ให้กำหนดดังนี้ กล่อง Group 1: 1 และ Group 2: 2 จากนั้น Click ที่ Continue
4. เมื่อกลับมายังหน้าต่าง Independent-Sample T Test ให้เลือกตัวแปรตาม "m_hlth" จากกล่องทางซ้าย ไปยังกล่องทางขวา (Test Variable(s):) แล้วเลือก Option…
5. สำหรับหน้าต่าง Independent-Sample T Test: Options ในกล่อง Confidence Interval ให้ใส่ค่า 95% จากนั้น Click ที่ Continue
6. เมื่อกลับมายังหน้าต่าง Independent-Sample T Test อีกครั้งให้ Click ที่ OK ก็จะได้ Output หรือผลลัพธ์ ดังนี้
2.1.3 การทดสอบค่าเฉลี่ยสำหรับหลายกลุ่มโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
เป็นการศึกษาเปรียบเทียบ และตรวจสอบว่าคุณลักษณะใดคุณลักษณะหนึ่งของข้อมูล ตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไปมีความแตกต่างกันหรือไม่ และถ้าแตกต่างกันนั้นแตกต่างกันอย่างไร
ตัวอย่างเช่น ผู้วิจัยสมมติฐานว่า "จุดประสงค์ของการเดินทางของนักท่องเที่ยวต่างกันจะมีความพึงพอใจที่มีต่อบริษัท ธนาวิทย์ทัวร์ จำกัด แตกต่างกัน"
การทดสอบสมมติฐานในครั้งนี้ ตัวแปรต้น/X คือ อาชีพ และตัวแปรตาม/Y คือความพึงพอใจที่มีต่อบริษัท ธนาวิทย์ทัวร์ จำกัด ซึ่ง ตัวแปรตาม/Y นั้นมีลักษณะเป็นชุดคำถามเช่นเดียวกับ การทดสอบจากการทดสอบค่าเฉลี่ยสำหรับ 2 กลุ่มตัวอย่างที่อิสระต่อกัน ดังนั้นขั้นตอนปฏิบัติการสามรถดูได้จากการทดสอบดังกล่าว
ขั้นตอนการทดสอบ
1. ไปที่ Menu bar เลือก Analyze --> Compare Means --> One-Way ANOVA…เมื่อเลือกตามลำดับแล้วจะได้หน้าต่าง One-Way ANOVA
2. เลือกตัวแปรต้น "จุดประสงค์ของการเดินทาง[happy]" จากกล่องทางซ้าย ไปยังกล่องทางขวา (Factor:) แล้วเลือกตัวแปรตาม "ความพึงพอใจ[m_hlth]" จากกล่องทางซ้าย ไปยังกล่องทางขวา (Dependent list:) จากนั้นเลือก Option…
3. สำหรับหน้าต่าง One-Way ANOVA: Option ในกรอบ Statistics ให้เลือก Descriptive แล้ว Click ที่ Continue
4. เมื่อกลับมายังหน้าต่าง One-Way ANOVA ให้ Click ที่ Post Hoc…
สำหรับหน้าต่างนี้ ในกรอบ Equal Variances Assumed ให้เลือก LSD หรือ Seheffe และกำหนดค่า Sighificance level: เท่ากับ .05 จากนั้นให้ Click ที่ Continue
5. เมื่อกลับมายังหน้าต่าง One-Way ANOVA อีกครั้งให้ Click ที่ OK ก็จะได้ Output หรือ ผลลัพธ์
2.2 การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ตัวแปร
การทดสอบหาความสัมพันธ์ เป็นวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติอนุมานอีกวิธีหนึ่ง ที่นิยมใช้ในการ ทดสอบความสัมพันธ์คุณลักษณะของข้อมูลตั้งแต่ 2 คุณลักษณะ หรือ 2 ตัวแปรขึ้นไป ว่ามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันหรือไม่ ซึ่งจะมีประโยชน์ในการสรุปผลข้อมูลงานวิจัย
ตัวอย่างเช่น ผู้วิจัยตั้งสมมติฐานว่า "รายได้ต่อเดือนของนักท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจที่มีต่อบริษัท ธนาวิทย์ทัวร์ จำกัด"
การทดสอบสมมติฐานในครั้งนี้ ตัวแปรต้น/X คือ เพศ และตัวแปรตาม/Y คือ ความพึงพอใจ ที่มีต่อบริษัท ธนาวิทย์ทัวร์ จำกัด ซึ่งตัวแปรตาม/Y นั้นมีลักษณะเป็นชุดคำถามเช่นเดียวกับ การทดสอบจากการทดสอบค่าเฉลี่ยสำหรับ 2 กลุ่มตัวอย่างที่อิสระต่อกัน ดังนั้นขั้นตอนปฏิบัติการสามารถดูได้จากการทดสอบดังกล่าว และนอกจากนี้ตัวแปรตาม/Y (ความพึงพอใจ [m_hlth]) ที่เกิดจากการปรับเปลี่ยนแล้วนั้นมีมาตรวัดตัวแปรเป็น Interval scale ยังไม่สามารถนำมาทดสอบความสัมพันธ์จึงต้องทำการปรับเปลี่ยนอีกครั้งให้มีมาตรวัดตัวแปรเป็น Nominal/Ordinal scale โดยใช้คำสั่ง recode เพื่อจัดกลุ่มใหม่ ก่อนนำไปทดสอบ
ขั้นตอนปฏิบัติการ
1. ไปที่ Menu bar เลือก Transform --> Recode --> Into Different Variables
เมื่อเลือกตามลำดับแล้วจะได้หน้าต่าง Recode into Different Variables
2. ให้เลือกตัวแปรที่จะทำการเปลี่ยนแปลงหรือจัดกลุ่มใหม่ซึ่งก็คือ ความพึงพอใจ [m_hltlh] จากกล่องซ้ายไปยังกล่องขวา (Numeric Variables --> Output) จากนั้นกำหนดชื่อตัวแปรใหม่เป็น "hlths" ที่กล่อง Name: ในกรอบ Output Variable แล้ว Click ที่ Change ต่อจากนั้น Click ที่ Old and New Values…. ก็จะปรากฏหน้าต่างดังนี้
3. สำหรับหน้าต่าง Recode into Different Variables: Old and New Values กำหนดกลุ่มย่อยของตัวแปร "satis" ซึ่งเป็นตัวแปรใหม่ ออกเป็น 2 กลุ่มย่อยดังนี้ กรอบ Old Value ให้เลือก Range: แล้วใส่ค่า -2.00 though ใส่ค่า 0.00 จากนั้นกำหนดในกรอบ New Value โดยเลือก Value: แล้วใส่ค่า 1 ซึ่งหมายถึงกลุ่มย่อยที่ 1 แล้ว Click ที่ add เมื่อกำหนดเสร็จแล้วผลของการจัดลุ่มจะปรากฏที่กล่อง Old --> New: สำหรับกลุ่มย่อยที่ 2 ก็ปฏิบัติการแบบเดียวกันแต่ให้กำหนดค่าเป็น 0.01 though 2.00 ในกรอบ Old Value และกรอบ New Value ให้กำหนด Value เป็น 2 จากนั้น Click ที่ Continue
ขั้นตอนการทดสอบ
1. ไปที่ Menu bar เลือกไปที่ Menu bar เลือก Analyze --> Descriptive Statistics --> Crosstab…
เมื่อเลือกตามลำดับแล้วจะได้เห็นหน้าต่าง Crosstabs
2. เลือกตัวแปรต้น "รายได้ต่อเดือน[inc]" จากกล่องทางซ้าย ไปยังกล่องทางขวา (Row(s):) ต่อมาเลือกตัวแปรตามคือ "ความพึงพอใจ[satis]" จากกล่องทางซ้าย ไปยังกล่องทางขวา (Column(s):) แล้ว Click ที่ Statistics….
3. เมื่อปรากฏหน้าต่าง Crosstab: Statistics ให้เลือก Chi-square จากนั้นให้ Click ที่ Continue
4. เมื่อกลับมาหน้าต่าง Crosstab ให้ Click ที่ Cell…
5. สำหรับหน้าต่าง Crosstab: Cell Display ในกรอบ Counts ให้เลือก Observed และ Expected ส่วนกรอบ Percentage ให้เลือก Total จากนั้นให้ Click ที่ Continue
6. เมื่อกลับมายังหน้าต่าง Crosstab ให้ Click ที่ OK ก็จะได้ Output หรือผลลัพธ์

ที่มา : http://classroom.hu.ac.th/courseware/ComApp/System/ch7_4.html


สำหรับความต้องการศึกษาเพิ่มเติมโปรแกรม SPSS FOR WINDOWS คือการวิเคราะห์ชั้นสูง เช่น การถดถอยเชิงเส้นเดียวและสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ การทดสอบสมมติฐาน Ho: m1=m2 การหาช่วงความเชื่อมั่น (1-a)100% ของผลต่างค่าเฉลี่ย m1-m2 ด้วย SPSS เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สมาคมผู้บริโภคสื่อสีขาว - เพลง The one

สมาคมผู้บริโภคสื่อสีขาว - เพลง The one

คุณลักษณะของผู้บริหารแบบมืออาชีพในยุคปัจจุบัน


จากประสบการณ์ในการทำงานที่ผ่านมาและจากการศึกษาโดยทั่วไป มักจะพบว่าการเป็นนักบริหารที่ดี นั้น ควรจะมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในแต่ละด้าน

1.1 การมีภาวะผู้นำLeadership ซึ่งจะต้องมีองค์ประกอบของความรู้ความเข้าใจ (Knowledge) การรู้จักตัดสินใจ (decision making) รู้จักและสามารถนำเอาวิธีการและกลยุทธในการแก้ไขปัญหา (problem solving)มาใช้ในการปฎิบัติงานในหน้าที่ได้ และเป็นบุคคลที่มีความสามารถในการเป็นผู้นำที่กำหนดทิศทางขององค์กรและเพื่อนร่วมงานได้เป็นอย่างดี (lead direction) สร้างพลังในการทำงานเป็นทีม (team work) และการมีส่วนร่วมของเพื่อนร่วมงาน ตลอดจนเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Initiative) เป็นต้น

1.2 เป็นบุคคลที่สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีและมีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ที่ได้รับหรืออยู่ในขอบข่ายของภารกิจที่รับผิดชอบอย่าง (Role Model & Responsibility)

1.3 มีทักษะในการสื่อสาร(Communication skill) ที่เป็นเลิศ ที่สามารถสื่อสารทั้งทางตรง ทางอ้อม ที่ทำให้เพื่อนร่วมงานหรือผู้ที่อยู่ใต้การบังคับบัญชาสามารถเข้าใจง่าย และเข้าถึงในสิ่งที่เราต้องการสื่อสาร

1.4 เป็นบุคคลที่มีวิสัยทัศน์ (vision) มีความคิดและมุมมองที่กว้าง และเป็นผู้ที่มองการณ์ไกล

1.5 เป็นผู้ที่ยอมรับและเป็นผู้สร้างกระบวนการเรียนรู้ที่จะนำองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้(Knowledge Based Organization

ใบงานที่ 11

1. รายวิชาที่อาจารย์สอน เป็นรายวิชาที่น่าสนใจ และได้ความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี

2. แต่ในบางครั้งอาจารย์สอนเร็วไปหน่อย ตามไม่ทันในบางเนื้อหา

3. บางครั้งไม่ได้ไปเรียน เนื่องจากติดภารกิจในการปฏิบัติงาน เพราะหน่วยงาน กศน. ส่วนใหญ่จะปฏิบัติงานในวันหยุด เสาร์-อาทิตย์ ต้องขอความกรุณาด้วย

4. งานที่อาจารย์สั่ง มากไปหน่อย แต่ก็จะพยายามทำให้ครบ

5. ขอความกรุณาอาจารย์ด้วย ในกรณีที่ส่งงานลงใน blog แล้ว ไม่ทราบว่าครบหรือไม่ ถ้าเป็นไปได้อยากให้อาจารย์ ช่วยตอบด้วย


ขอบพระคุณค่ะ

ใบงานที่ 10




นางนิตยาพร จันทร์อุดม

สถานที่เกิด
บ้านเลขที่ 12 หมู่ที่ 5 ตำบลฉลอง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
บิดาชื่อ นายนิยม เพชรชู มารดาชื่อ นางเกล้า เพชรชู

ระดับการศึกษา
ระดับประถมศึกษา 1 – 7 โรงเรียนวัดกลาง ตำบลฉลอง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 โรงเรียนฉลองรัฐราษฎร์อุทิศ ตำบลฉลอง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช ตำบลคลัง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรธรรมราช
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช ตำบลคลัง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรธรรมราช

การทำงาน
1. 30 มกราคม 2530 บรรจุเข้าทำงานครั้งแรก ในตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการ 2 ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดระนอง
2. 1 กุมภาพันธ์ 2532 ตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการ 3 ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดระนอง
3. 1 กุมภาพันธ์ 2534 ตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการ 3 ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดตรัง
4. 4 กุมภาพันธ์ 2541 ตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการ 4 ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนครศรีธรรมราช
5. 1 ตุลาคม 2541 ตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการ 5 ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนครศรีธรรมราช
6. 11 มกราคม 2539 ตำแหน่งอาจารย์ 2 ระดับ 5 ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช
7. 15 พฤษภาคม 2544 ตำแหน่งอาจารย์ 2 ระดับ 7 ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนครศรีธรรมราช
8. 13 กันยายน 2547 ตำแหน่งอาจารย์ 3 ระดับ 8 ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนครศรีธรรมราช
9. ปัจจุบัน ตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ รับเงินเดือนขั้น 32,160 บาท สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ รับผิดชอบงาน : หัวหน้ากลุ่มงานจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย



slideshow