song

S! Radio
เหงาบ่มีวันหยุด
เพลง สาว ก.ศ.น
ศิลปิน เปรม ปรียาภรณ์
อัลบั้ม เหงาบ่มีวันหยุด
ดูเนื้อเพลงคัดลอกโค้ดเพลงนี้

วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานครั้งที่ 4

การจัดการความรู้ (Knowledge Management) : KM

การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ ทักษะ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธี ต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม ได้แก่ เอกสาร กฎระเบียบ วิธีปฏิบัติงาน ระบบ สื่อต่าง ๆ เช่น VCD DVD TABE INTERNET

การจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือในการแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ
ความรู้ คืออะไร
- ความสามารถในการทำให้สารสนเทศและข้อมูล มาเป็นการกระทำที่มีประสิทธิภาพได้
- ส่วนผสมของกรอบประสบการณ์ คุณค่า สารสนเทศ และความเชี่ยวชาญ ซึ่งจะเป็นกรอบที่ทำให้เกิดประสบการณ์ และความรู้ใหม่เข้าด้วยกัน



ข้อมูล (Data)
- ข้อมูลที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผล
- กลุ่มของข้อมูลดิบที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน
สารสนเทศ (Information)
- ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว
- ผลรวมของข้อมูลที่มีความหมาย
ความรู้ (Knowledge)
- ผลจากการขัดเกลาและเลือกใช้สารสนเทศ โดยมีการจัดระบบความคิด เกิดเป็น “ความรู้และความเชี่ยวชาญ”
ความเฉลียวฉลาด (Wisdom)
- การนำความรู้ต่าง ๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงานในสาขาวิชา ต่าง ๆ
เชาวน์ปัญญา (Intelligence)
- ผลจากการปรับแต่งและจดจำความเฉลียวฉลาดต่าง ๆ ซึ่งก่อให้เกิดความคิดที่ฉับไว
ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ และปัญญา




รูปแบบการจัดการความรู้


โมเดลปลาทู










กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Process)
1. กำหนดสิ่งที่ต้องเรียนรู้
2. แสวงหาความรู้
3. การจัดเก็บและค้นคืนความรู้
4. การสร้างความรู้
5. การประมวลและกลั่นกรองความรู้
6. การถ่ายโอนและใช้ประโยชน์จากความรู้
7. การแบ่งปันความรู้
8. การรักษาความรู้

การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
ชุมชนนักปฏิบัติ CoP(Community of Practice)
คือ อะไร
คือ ชุมชนที่มีการรวมตัวกัน หรือเชื่อมโยงกันอย่างไม่เป็นทางการ โดยมีลักษณะดังนี้
· ประสบปัญหาลักษณะเดียวกัน
· มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ต้องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากกันและกัน
· มีเป้าหมายร่วมกัน มีความมุ่งมั่นร่วมกัน ที่จะพัฒนาวิธีการทำงานได้ดีขึ้น
· วิธีปฏิบัติคล้ายกัน ใช้เครื่องมือ และภาษาเดียวกัน
· มีความเชื่อ และยึดถือคุณค่าเดียวกัน
· มีบทบาทในการสร้าง และใช้ความรู้
· มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกัน อาจจะพบกันด้วยตัวจริง หรือผ่านเทคโนโลยี
· มีช่องทางเพื่อการไหลเวียนของความรู้ ทำให้ความรู้เข้าไปถึงผู้ที่ต้องการใช้ได้ง่าย
· มีความร่วมมือช่วยเหลือ เพื่อพัฒนาและเรียนรู้จากสมาชิกด้วยกันเอง


กระบวนการจัดการความรู้
องค์กรที่มุ่งเน้นยุทธศาสตร์
1. การบริหารกระบวนการ
2. กระบวนการบริหารลูกค้า
3. ลการวางระบบบริหารจัดการสิทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้
องค์ประกอบสำคัญของการบริหารจัดการความรู้
1. คน
2. เทคโนโลยี
3. กระบวนการ

ขั้นตอนการจัดการความรู้ในสถานศึกษา
1. ปรับวัฒนธรรมองค์กรให้เหมาะสมในการจัดการความรู้ (Culture Change) 1.1 เปลี่ยนแปลงค่านิยมและพฤติกรรมของผู้บริหาร ครู และบุคลากรให้เป็นผู้ยึดแนวการทำงานที่เปิดรับ และพร้อมจะสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ พร้อมเป็นผู้แบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน 1.2 สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน มีมุมมองผู้บริหาร เพื่อนร่วมงาน และผู้ใต้บังคับบัญชาในเชิงบวก 1.3 กล้านำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ ร่วมกัน หาทางออกหากขัดต่อระเบียบข้อบังคับ 1.4 สร้างโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงาน และให้โอกาสทีมงานด้วยความสมัครใจ 1.5 ปลูกฝังแนวคิดที่เอื้อต่อการทำงาน เช่น ความตั้งใจจริง การเอาชนะอุปสรรค การทำงานให้ผลออกมาดีที่สุด ความซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่นในความถูกต้อง ความดีงาม ฯลฯ2. สื่อสารสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Communication) 2.1 สื่อสารให้ความรู้ ความเข้าใจเบื้องต้น เช่น ความหมาย ความสำคัญ องค์ประกอบ ประโยชน์ของการจัดการความรู้ 2.2 สื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการ ขั้นตอนในการจัดการความรู้ ตลอดจนเครื่องมือที่จะใช้ในการจัดการความรู้ 2.3 สื่อสารถึงบทบาทหน้าที่คณะทำงาน และผู้เกี่ยวข้องในการจัดการความรู้ 2.4 สื่อสารเกี่ยวกับเป้าหมายของการจัดการความรู้ ตลอดจนความยาก และปัญหาที่อาจจะพบในการจัดการความรู้3. กระบวนการและเครื่องมือในการจัดการความรู้ (Process and Tools)เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการความรู้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ถ้าเป็นการจัดการความรู้ประเภทชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) มักจะใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการความรู้ประเภทฝังลึก (Tacit Knowledge) มักจะเป็นกระบวนการที่สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแบ่งปันได้ เช่น 3.1 ประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการร่วมกัน 3.2 สอนงาน (Coaching) 3.3 เรียนรู้โดยการปฏิบัติ (Action Learning) 3.4 จัดชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice)4. เรียนรู้ (Learning) เพื่อสร้างความรู้ต่อยอด ซึ่งมีวิธีการต่าง ๆ ที่หลากหลาย สำหรับข้อเสนอแนะในครั้งนี้ เป็นการเรียนรู้โดยการจัดชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) มีกระบวนการขั้นตอนดังนี้ 4.1 การกำหนดเป้าหมาย (Desired State) ซึ่งเป็นความต้องการในการจัดการความรู้ เพื่อตอบคำถามจะจัดการความรู้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในเรื่องใด และจะทำให้ใครเป็นผู้ได้รับประโยชน์ในการจัดการความรู้นั้น 4.2 สรรหาผู้ปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) เข้าร่วมแลกเปลี่ยนแบ่งปันประสบการณ์ สมาชิกทุกคนที่เข้าร่วมเวทีต้องเป็นตัวจริง คือเป็นผู้ปฏิบัติงานในเรื่องนั้น ๆ ที่ประสบความสำเร็จ เป็นที่ยอมรับ เป็นแบบอย่างที่ดี และมาจากความแตกต่าง หลากหลาย จึงจะเกิดพลัง 4.3 ค้นหาความรู้ฝังลึกในตัวผู้ปฏิบัติ ซึ่งเขามีวิธีการปฏิบัติอย่างไร จึงประสบผลสำเร็จ ผ่านเทคนิคการเล่าเรื่อง (Story telling) โดยใช้กระบวนการสกัดขุมความรู้ (Knowledge Assets) เป็นรายบุคคล แล้วหลอมรวมวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศของทุกคนให้เป็นแก่นความรู้ (Core Competence) 4.4 สร้างความรู้ ที่กระจัดกระจายอยู่มากมายมารวมไว้ เพื่อจัดทำเนื้อหาให้เหมาะสม และตรงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยจัดทำเป็นฐานข้อมูลต่าง ๆ ตามความเหมาะสม 4.5 เลือกและกลั่นกรอง (Refine) โดยสรรหาเลือกความรู้ที่เป็นประโยชน์ และโดดเด่น ซึ่งอาจจะนำไปเทียบเคียงทฤษฎี หลักการ หรือแนวคิดที่มีบันทึกไว้ หากไม่ตรงกับหลักการใด เราอาจจะได้หลักการปฏิบัติใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น 4.6 เผยแพร่ความรู้ (Knowledge Distribution) กิจกรรมนี้ นำการจัดการที่เป็นระบบแล้วเผยแพร่แก่นักปฏิบัติที่มีความต้องการจะนำองค์ความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ไปใช้ประโยชน์ 4.7 นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ (Use) เป็นกิจกรรมที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเมื่อมีการจัดการความรู้แล้วไม่นำไปใช้ประโยชน์ก็ไม่บังเกิดผลใด ๆ ทำให้เกิดความสูญเปล่าในการจัดการความรู้ 4.8 นำความรู้ที่ได้มา และผ่านการนำไปใช้แล้วว่าเกิดประโยชน์จริง มาเก็บไว้ในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต ไว้เป็นแหล่งความรู้ (Knowledge Assets) เพื่อให้เกิดพลังในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4.9 ตรวจสอบ (Monitor) เป็นการทบทวนดูว่าทุกขั้นตอนของการจัดกระบวนการความรู้ มีขั้นตอนใดที่จะต้องปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ขั้นตอนใดมีความเหมาะสมดีแล้ว5. การวัดผลการจัดการความรู้ (Meausurement) การวัดผลจะทำให้เราได้รู้ว่าการจัดการความรู้ของเรา สามารถก่อให้เกิดการพัฒนาได้อย่างเป็นรูปธรรมจริงหรือไม่ ซึ่งจำเป็นจะต้องจัดทำตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับสิ่งที่เราตั้งเป้าหมายไว้ อย่างน้อยที่สุด 3 ประการ คือ เกิดการพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร ตัวชี้วัดควรมีลักษณะดังนี้ - ตัวชี้วัดจะต้องสะท้อนให้เห็นถึงผลการดำเนินงานได้อย่างชัดเจน - ตัวชี้วัดต้องสามารถอธิบายและทำความเข้าใจแก่ทุกคนได้ - ตัวชี้วัดบางตัว อาจมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม ควรให้ทุกคนในหน่วยงานรับทราบ6. การยอมรับและให้รางวัล (Recognition and Rewards) ในการจัดการความรู้ให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้นั้น จะต้องมีสิ่งกระตุ้น ผลักดันให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพิจารณาเรื่องการยอมรับ และให้รางวัล ก็เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญ ความสอดคล้อง และความเต็มใจถ่ายทอดร่วมกับผู้อื่น ซึ่งแต่ละองค์กรต้องพิจารณาตามความเหมาะสม เช่น - ของรางวัล - ประกาศเกียรติคุณ - คำยกย่อง ชมเชย
อ้างอิง : นายสุนิตย์ ชูใจ http://km.sadet.ac.th/blog/borai/14

ข้อมูลและแหล่งข้อมูล
ข้อมูล หมายถึง รายละเอียดหรือข้อเท็จจริง เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่เราสนใจ เช่นเกี่ยวกับสถานที่ คน สิ่งของเป็นต้น
ข้อมูลที่เราพบเห็นทุกวันนี้ มีหลายรูปแบบ เช่นเป็นตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียงต่าง ๆ เราสามารถรับรู้ข้อมูลได้จากส่วนต่าง ๆ ดังนี้
1. การรับรู้ข้อมูลทางตา ได้แก่ การมองเห็น เช่นข้อมูลภาพ จากหนังสือ โทรทัศน์ เป็นต้น
2. การรับรู้ทางหู ได้แก่ การได้ยินเสียงผ่านเข้ามาทางหู เช่น ข้อมูลเสียงเพลง เสียงพูด เสียงรถ เป็นต้น
3. การรับรู้ทางมือ ได้แก่ การสัมผัสกับข้อมูล เช่น การจับเสื้อผ้าแล้วรู้สึกว่านุ่ม เป็นเนื้อผ้าเป็นต้น
4. การรับรู้ทางจมูก ได้แก่ การได้กลิ่น เช่น หอมกลิ่นอาหาร กลิ่นดอกไม้ กลิ่นขยะ เป็นต้น
5. การรับรู้ทางปาก ได้แก่ การรู้สึกถึงรส โดยการสัมผัสทางลิ้น เช่น เผ็ด หวาน ขม เป็นต้น

ชนิดของข้อมูลแบ่งได้หลายชนิด ดังนี้
1. ข้อมูลตัวเลข จะประกอบด้วยตัวเลขเท่านั้น เช่น 145 , 2468 เป็นต้น มักจะนำมาใช้ในการคำนวณ
2. ข้อมูลอักขระ ประกอบด้วย ตัวอักษร ตัวเลข และอักขระพิเศษหรือเครื่องหมายพิเศษต่าง ๆ เช่น บ้านเลขที่ 13/2 เป็นต้น ถ้ามีตัวเลขประกอบ จะมิได้นำมาคำนวณ
3. ข้อมูลภาพ รับรู้จากการมองเห็น เช่น ภาพดารา ภาพสัตว์ต่าง ๆ
4. ข้อมูลเสียง รับรู้จากทางหูหรือการได้ยิน เช่นเสียงพูด เสียงเพลง เป็นต้น

ข้อมูลมีประโยชน์มากมายดังนี้
1. ด้านการเรียน เช่น ข้อมูลที่ได้จาก โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ มาใช้ประโยชน์ในการเรียนได้ เป็นข้อมูลหรือความรู้เพิ่มเติม
2. ด้านการติดต่อสื่อสาร เช่น ถ้าเรามีข้อมูล เราสามารถที่จะสนทนาพูดคุย หรือบอกเรื่องต่าง ๆ ให้กับผู้อื่นได้
3. ด้านการตัดสินใจ เป็นการใช้ช่วยให้เราตัดสินใจต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เช่น การเลือกซื้อของเล่น ถ้าเราทราบราคาของเล่น ในแต่ละร้าน จะทำให้เราเลือกซื้อของเล่นที่เหมือนกันได้ในราคาที่ถูกที่สุด

การรวบรวมข้อมูล
การรวบรวมข้อมูลเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูล โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การสัมภาษณ์หรือสอบถามผู้รู้ การสำรวจแหล่งข้อมูลเอง หรือการนำข้อมูลมาจากแหล่งที่มีผู้จัดทำไว้แล้ว เช่น หนังสือต่าง ๆ เป็นต้น
การรวบรวมข้อมูล
ในการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ นั้นกระทำได้หลายวิธีขึ้นกับลักษณะของแหล่งข้อมูล สามารถแบ่งวิธีการรวบรวมข้อมูลได้ 3 วิธี
1. การรวบรวมข้อมูลโดยการสอบถาม เช่นการถามหรือสัมภาษณ์จากผู้รู้ในแหล่งข้อมูล เช่น การที่นักเรียนถามคุณครูเกี่ยวกับเนื้อหาในบทเรียน การส่งแบบสอบถามให้ผู้ตอบกรอก
2. การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งเอกสารต่าง ๆ เช่น จากหนังสือ ตำรา วารสาร หนังสือพิมพ์ คู่มือ เป็นต้น
3. การรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตการณ์ โดยผู้ต้องการข้อมูลเข้าไปสังเกตเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยตัวเอง

คุณภาพของข้อมูล
การนำเอาข้อมูลหรือสารสนเทศ ไปใช้ประโยชน์นั้น ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ ข้อมูลที่ดีมีคุณภาพควรมีคุณสมบัติดังนี้
1. มีความถูกต้อง ตรงกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
2. สามารถตรวจสอบได้ ข้อมูลจะต้องมีแหล่งข้อมูลที่สามารถอ้างอิงได้
3. มีความเป็นปัจจุบัน ทันต่อเรื่องราวและเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง
4. มีความครบถ้วน สมบูรณ์ และชัดเจน

แหล่งข้อมูล
แหล่งข้อมูล หมายถึง สถานที่หรือแหล่งที่เกิดข้อมูล แหล่งข้อมูลจะแตกต่างกันไปตามข้อมูลที่ต้องการ เช่น
บ้ านเป็นแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวกับนักเรียน โดยบันทึก ข้อมูลไว้ในทะเบียนบ้าน
ห้องสมุด เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ต่าง ๆ
ข้อมูลบางอย่างเราอาจจะนำมาจากแหล่งข้อมูลหลายแหล่งได้ เช่นราคาของเล่นชนิดเดียวกัน เราอาจจะหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลซึ่งได้แก่ร้านค้าหลายร้านได้ และข้อมูลหรือราคาที่ได้อาจจะแตกต่างกันไป
หนังสือพิมพ์ เป็นแหล่งข้อมูลที่มีทั้งข้อความ ตัวเลข รูปภาพ
อ้างอิง : ครูญาณินท์ พลับจีน http://school.obec.go.th/bansa_s/data1.html

เครือข่ายการเรียนรู้
โรงเรียนและสถาบันการศึกษาในระบบอื่นๆ เป็นเพียงบริบทหนึ่งของการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น เพราะทรัพยากรการเรียนรู้ของสังคมหนึ่งๆ มีความกว้างขวางกว่าและลึกซึ้งกว่าการศึกษาในระบบ บุคคลสามารถเรียนรู้ได้จากในครอบครัว ในโบสถ์ มัสยิด ห้องสมุด โรงภาพยนตร์ จากการทำงาน จากการเล่น การดื่มน้ำชากาแฟ จากจอคอมพิวเตอร์ จากการร่วมวงสนทนา ดังนั้น การเรียนรู้จึงเป็นกระบวนการที่มีความหมาย และเกี่ยวข้องกับบริบทที่หลากหลายตลอดช่วงชีวิตของบุคคล การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ เมื่อบุคคลได้รับประสบการณ์และมีส่วนร่วมในการรับการแปลความ การปรับปรุงและการสื่อสารประสบการณ์ของตนแนวความคิดเครือข่ายการเรียนรู้ได้รับความสนใจและมีความสำคัญตั้งแต่ปี ๒๕๓๑ เป็นต้นมา ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินการทบทวนแผนการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๒๐ และการศึกษาแนวทางสำหรับการพัฒนาการศึกษาในอนาคตให้เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ ที่จัดโครงสร้างของระบบการศึกษาในลักษณะที่ยืดหยุ่น และเป็นเครือข่ายของการเรียนรู้ ทั้งนี้เพื่อให้ครอบคลุมหลักการการจัดการศึกษาที่สำคัญ ๔ ประการ คือ ความกว้างขวางและเป็นธรรม ความสมดุล ความสอดคล้องและความหลากหลาย
ความหมายของเครือข่ายเครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network) หมายถึง การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ และการเรียนรู้ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การ และแหล่งความรู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จนเป็นระบบที่เชื่อมโยงกัน ส่งผลให้เกิดการเผยแพร่และการประยุกต์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาชีพหรือทางสังคม แนวความคิดการเรียนรู้เป็นกระบบวนการที่ผู้เรียนต้องเป็นผู้จัดกระทำต่อสิ่งเร้าหรือสาระการเรียนรู้ มิใช่เพียงรับสิ่งเร้าหรือสาระเข้ามาเท่านั้น ผู้เรียนต้องเป็นผู้สร้างความมายของสิ่งเร้า หรือข้อความความรู้ ที่รับเข้ามาด้วยตนเอง กระบวนการสร้างความหมายของสิ่งเร้าที่รับเข้ามาที่เป็นประสบการณ์เฉพาะตน (Personal experience) ซึ่งมีความแตกต่างกันและมีกระบวนการคิดที่แตกต่างกัน ดังนั้น การเรียนรู้ของบุคคลจึงเป็นกระบวนการที่แต่ละบุคคลต้องดำเนินการเอง เพราะกระบวนการสร้างความหมายเป็นกระบวนการเฉพาะตน หลักสำคัญของเครือข่ายการเรียนรู้การเรียนรู้ตลอดชีวิตควรเริ่มจากการมีส่วนร่วมของบุคคล องค์กรและชุมชนในการตระหนักถึงปัญหาและการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการสร้างเสริมประสบการณ์ การถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน จนทำให้เกิดการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้สรุปหลักการสำคัญของเครือข่ายการเรียนรู้ไว้ ดังนี้ ๑. การกระตุ้นความคิด ความใฝ่แสวงหาความรู้ จิตสำนึกในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมในการพัฒนา ๒. การถ่ายทอด แลกเปลี่ยน การกระจายความรู้ทั้งในส่วนของวิทยากรสากลและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ๓. การแลกเปลี่ยนข่าวสารกับหน่วยงานต่างๆ ของทั้งในภาครัฐและเอกชน ๔. การระดมและประสานการใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อการพัฒนาและลดความซ้ำซ้อน สูญเปล่าให้มากที่สุดการเรียนรู้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์มากขึ้นสำหรับบุคคลและความเจริญของชาติ ด้วยการเรียนรู้เป็นสื่อเชื่อมโยงกับข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้และทักษะซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ การเรียนรู้ที่ประสบความสำเร็จก็คือ การที่แต่ละบุคคลสามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือ ข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ที่เหมาะสม เพื่อแก้ปัญหา และแสวงหาโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่วนเครือข่ายการเรียนรู้ก็เป็นกระบวนการที่สำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต เครือข่ายเป็นระบบการเชื่อมโยงระหว่างบุคคล หน่วยงาน องค์กร สถาบันเข้าด้วยกัน ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ข้อมูลข่าวสาร ทรัพยากร ตลอดจนส่งเสริมการภารกิจให้มีผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
อ้างอิง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ กลิ่นกุหลาบ* http://www.trang.psu.ac.th/learning2teach/index.php?option=com_content&task=view&id=60&Itemid=34

สารสนเทศ

สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น สารสนเทศที่เป็น ความรู้ที่เกิดจากวิทยุ โทรศัพท์มือถือ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ รอบตัวเราซึ่งอาจมาจาก วิทยุ โทรทัศน์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ดาวเทียม โทรศัพท์ เครื่องจักร ที่เกี่ยวกับสารสนเทศได้ เครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ เช่น การฝาก ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียน ฯลฯ

เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบ ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การพิมพ์ป้อนทางแป้นพิมพ์ การใช้เครื่องอ่านรหัสแท่ง (bar code)
การประมวลผล เป็นการนำเสนอข้อมูลที่เก็บมาได้เข้าสู่กระบวนการประมวลผลตามต้องการเช่น การคำนวณ การเรียงลำดับข้อมูล แยกเป็นกลุ่ม ฯลฯ ส่วนใหญ่จะดำเนินการด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ จากส่วนสำคัญที่เรียกว่า ชิพในหน่วยซีพียู
การแสดงผลลัพธ์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการแสดงผลลัพธ์ ซึ่งสามารถเป็นตัวหนังสือ รูปภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ หรือเสียง
การทำสำเนา เป็นการทำสำเนาข้อมูลหรือสารสนเทศที่จัดเก็บไว้ ในสื่ออิเลคทรอนิกส์ชนิดต่าง ๆ ให้มีหลายชุด เพื่อสะดวกต่อการเก็บรักษา และการนำไปใช้ อุปกรณ์ที่ใช้ทำสำเนา เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสาร แผ่นบันทึก ฮาร์ดดิสต์หรือ CD-RON
การสื่อสารโทรคมนาคม เป็นวิธีการที่จะส่งข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ซึ่งอาจส่งกระจายไปยังปลายทางครั้งละมาก ๆ อุปกรณ์ที่ใช้ได้แก่ โทรศัพท์ โทรสาร วิทยุ โทรทัศน์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คลื่นวิทยุ ดาวเทียม ฯลฯ
อ้างอิง : http://www.chakkham.ac.th/technology/techno1/c2-3.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

slideshow